ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงาน วิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

 การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ และหาทางพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 333 คน แบ่งออกเป็น ผู้บริหารโรงเรียน 53 คน และครูผู้สอน 280 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสอบถามการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.45 - 0.95 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.88 และแบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.33 - 0.89 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.86 มีค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.45-95 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One – way ANOVA) และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation)

ผลการวิจัย พบว่า

1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนจำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนขนาดโรงเรียน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะประสบการณ์การปฏิบัติงาน พบว่า แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

4. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนขนาดโรงเรียน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน ในขณะที่ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วม กับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยรวมพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01

6. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาแนวทางพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำนวน 2 ด้าน คือ 1) การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ และ 2) การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการประเมินผล เพื่อให้เกิดประสิทธิผลโรงเรียนและแนวทางยกระดับประสิทธิผลการบรหารงานวิชาการของโรงเรียน จำนวน 10 ด้าน คือ 1) ควรมีการพัฒนาหลักการด้านการพัฒนาหรือดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น 2) ควรมีการพัฒนาหลักการด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา 3) ควรมีการพัฒนาหลักการด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา 4) ควรมีการพัฒนาหลักการด้านการพัฒนาส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ 5) ควรมีการพัฒนาหลักการด้านการนิเทศการศึกษา 6) ควรมีการพัฒนาหลักการด้านการแนะแนว7) ควรมีการพัฒนาหลักการด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพในและมาตรฐานการศึกษา 8) ควรมีการพัฒนาหลักการด้านการส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ 9) ควรมีการพัฒนาหลักการด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน สถานประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา 10) ควรมีการพัฒนาหลักการด้านการจัดทำระเบียบ และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา

จิตรา แก้วมะ, ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, รัชฏาพร งอยภูธร.(2564).ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงาน วิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1.วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ปีที่ 9 ฉบับที่ 35 เมษายน-มิถุนายน 2564.หน้า 234

https://jeal.snru.ac.th/ArticleViewFile?ArticleID=941&FileArticle=941-ArticleTextFile-20210617152057.pdf

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม